ศูนย์คริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลราชบุรี
CATECHETICAL CENTER OF RATCHABURI DIOCCESE

ccpcommandment08.jpgบทที่  17 อย่าใส่ความนินทา
จุดมุ่งหมาย 
เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงคุณค่าและเกียรติของการพูดความจริง หลีกเลี่ยงการพูดเท็จ หรือการใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น ซึ่งเป็นการทำลายชื่อเสียงของเขา


 

ขั้นที่  1  กิจกรรม
ครูเล่านิทานต่อไปนี้ให้นักเรียนฟัง

เทพรักษ์กับคนตัดฟืน
ชายคนหนึ่ง เป็นคนยากจน หากินทางการตัดฟืนในป่าไปขาย วันหนึ่งเขาแบกขวานคู่ชีพเข้าไปในป่าตัดฟืนตามปกติ ขณะที่กลังตัดฟืนอยู่นั้น เขาเกิดพลาดทำขวานตกลงไปในหนองน้ำข้าง ๆ เขารู้สึกเป็นทุกขืเสียใจเพราะขวานเล่มนั้นเป็นเครื่องมือหากินของเขา ถ้ไม่มีมันเขาก็ต้องอดตาย จะลงไปงมก็ว่ายน้ำไม่เป็น เขาจึงนั่งร้องไห้อยู่ริมน้ำนั้น

ทันใดนั้นเทพารักษ์ผู้รักษาป่าก็ปรากฏองค์ลงมากล่าวแก่ชายคนนั้นว่า “เจ้าร้องไห้ทำไม” ชายคนนั้นตอบว่า “ผมตัดฟืนแล้วทำขวานตกลงไปในหนองน้ำ ผมจะลงไปงมก็ลงไปไม่ได้เพราะว่าว่ายน้ำไม่เป็น ถ้าไม่มีขวานผมคงอดตาย”  เทพารักษ์จึงลงไปในหนองน้ำงมขวานทองขึ้นมาเล่มหนึ่งถามว่า “ขวานของเจ้าคือเล่มนี้ใช่ไหม” ชายคนนั้นตอบว่า “ไม่ใช่ “ เทพารักษ์จึงงมขวานมาอีกเล่มหนึ่งถามว่า “ขวานของเจ้าคือเล่มนี้ใช่ไหม” ชายคนนั้นตอบว่า “ไม่ใช่ “ เทพารักษ์จึงงมขวานเหล็กขึ้นมาถามว่า แล้วเล่มนี้เล่าใช่ขวานของเจ้าไหม ? ชายคนนั้นดีใจตอบว่า “ใช่ครับ ขวานเล่มนี้แหละคือขวานของผม”   เทพารักษ์จึงกล่าวแก่ชายคนนั้นว่า  เจ้าเป็นคนซื่อตรง ไม่โกหก ดังนั้นข้าจะยกขวานทอง และขวานเงิน ให้เจ้าอีกด้วย ชายคนนั้นจึงแบกขวานสามเล่มกลับบ้านด้วยความยินดี

ข่าวนี้ไปเข้าหูเพื่อนบ้านที่มีฐานะดี จึงเกิดความโลภ อยากได้ขวานเงินขวานทองบ้าง เขาจึงแบกขวานออกไปตัดฟืนในป่าแล้วแกล้งเหวี่ยงขวานลงไปในหนองน้ำแล้วนั่งร้องไห้บีบน้ำตาอยู่ ทันใดนั้นเทพารักษ์ผู้รักษาป่าก็ปรากฏองค์ลงมากล่าวแก่ชายคนนั้นว่า “เจ้าร้องไห้ทำไม” ชายคนนั้นก็ตอบว่า ผมตัดฟืนอยู่ดี ๆ ขวานเกิดหลุดมือลงไปในหนองน้ำครับ เทพารักษ์จึงลงไปในหนองน้ำงมขวานทองขึ้นมาเล่มหนึ่งถามว่า “ขวานของเจ้าคือเล่มนี้ใช่ไหม” ชายคนนั้นเห็นขวานทองก็ตาวาว เกิดความอยากได้ได้สุดขีด จึงตอบว่า “ใช่ครับ เล่มนี้หละขวานของผม” เทพารักษ์จึงกล่าวว่า เจ้าเป็นคนใจคด โกหก ฉะนั้นจงอย่าคิดว่าจะได้ขวานเงิน ขวานทองจากข้าเลย แม้ขวานเล็กของเจ้าข้าก็จะไม่งมให้ เจ้างมเอาเองเถิด “ ว่าแล้วเทพารักษ์ก็หายตัวไป ชายคนนั้นก็เดินคอตกกลับบ้านด้วยความผิดหวัง

ขั้นที่  2  วิเคราะห์
ครูถามผู้เรียนว่า
- รู้สึกอย่างไรต่อชายคนที่หนึ่ง ? ทำไม ?
- รู้สึกอย่างไรต่อชายคนที่สอง ? ทำไม ?
- นิทานเรื่องนี้มีบทสอนอะไร ?

ทุกคนนิยมชมชอบชายคนหนึ่งเพราะเป็นคนซื่อสัตย์ ไม่พูดโกหกเพราะความโลภ อยากได้ ส่วนชายคนที่สองนั้น ไม่มีใครชอบเพราะเป็นคนไม่ซื่อสัตย์ พูดโกหกและละโมบ อยากได้ ผลจึงออกมาต่างกัน คือ คนซื่อสัตย์ได้รับรางวัลตอบแทน ส่วนคนที่ไม่ซื่อสัตย์ กลับได้รับโทษ

สรุป เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ยกย่องคนซื่อสัตย์  คือคนที่พูดความจริง และประณามคนที่ไม่ซื่อสัตย์ คือคนที่พูดความเท็จ อันได้แก่การโกหก

ขั้นที่ 3  คำสอน
1.  สังคมมนุษย์โดยทั่วไปยึดความจริง ความถูกต้อง เป็นคุณธรรมชั้นยอดควบคู่กับความเป็นมนุษย์ทีเดียว อดีตนายกรัฐมนตรี พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณเคยกล่าวไว้ว่า “ก่อนพูด เราต้องเป็นนายของวาจา หลังพูด วาจาเป็นนายของเรา”   หมายความว่าเราต้องเป็นคนมีวาจาสัตย์ พุดคำไหนคำนั้น ไม่ตลบแตลง เปลี่ยนแปลงไปมา วงการลูกเสียก็เน้นความซื่อสัตย์ ดังคำพุดที่ว่า เสียชีพอย่าเสียสัตย์ คือแม้ตายก็อย่าตระบัดสัตย์

 นิทานเรื่อง “เด็กเลี้ยงแกะ” ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สอนว่า คนโกหกที่สุดก็อยู่ร่วมโลกกับใครไม่ได้ ไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย ไม่มีใครวางใจ

2.  พระบัญญัติของพระเจ้าประการที่แปด บัญญัติไว้ว่า “ อย่าใส่ความนินทา “ ซึ่งกินความถึงคุณธรรมหลักสองประการ คือ ความจริง และชื่อเสียงเกียติยศ

 เกี่ยวกับความจริงนั้น พระเยซูคริสต์ตรัสไว้ว่า “ใช่ก็จงบอกว่าใช่ ไม่ใช่ก็จงบอกว่าไม่ใช่ ถ้าผิดไปจากนี้ก็มาจากปีศาจ ( มธ. 5,37 ) หมายความว่าเราต้องเป็นคนมีวาจาสัตย์ ไม่โกหก หลอกลวง หรือตระบัดสัตย์ เหมือนนิทานที่กล่าวถึงข้างต้น ทั้งนี้ก็เพราะว่า พระเจ้าทรงเป็นองค์ความจริง “ พระองค์ไม่รู้จักหลง และไม่รู้จักหลอกลวง ( บทแสดงความเชื่อ) “ พระองค์สัญญาและถือตามเสมอ (บทแสดงความไว้ใจ) ดังนั้นใครอยู่ฝ่ายความจริงก็อยู่ฝ่ายพระเจ้า ดังที่พระเยซูคริสต์ได้ตรัสกับปิลาตว่า “ เราเกิดมาในโลกนี้เพื่อเป็นพยานความจริง ความเท็จ หรือความหลอกลวงซึ่งมาจากปิศาจ ( เทียบ มธ. 5,37 ) เพราะปีศาจคือเจ้าของความเท็จและความหลอกลวง ดังที่มันเคยหลอกลวงเอวาในอุทยานสวรรค์ว่า “ เจ้าจะไม่ตายเพราะกินผลไม่นั้นดอก เพราะพระเจ้าทรงทราบว่า ถ้าเจ้ากินผลไม้วันใด ตาของเจ้าก็จะสว่างวันนั้น แล้วเจ้าจะเป็นเหมือนพระเจ้า คือจะรู้ดี รู้ชั่ว ( ปฐก. 2,4 ) เอวาหลงเชื่อมันจึงกินผลไม้ต้องห้าม และผลที่ตามมาเป็นอย่างไรเราคงทราบกันดี

3.  ส่วนเรื่องชื่อเสียงเกียรติยศนั้น มีคุณค่าเท่ากับชีวิตของเราทีเดียว เราคงเคยได้ยินคำกล่าวว่า “ คนเราฆ่าได้ แต่หยามไม่ได้ “ คำว่า “หยาม” หมายถึงการทำลายชื่อเสียงเกียรติยศ ซึ่งถือว่าร้ายยิ่งกว่าการทำลายชีวิตเสียอีก ใครทำให้ผู้อื่นเสียเสีงเกียรติยศจึงถือเป็นการล่วงละเมิดต่อผู้นั้นอย่างมหันต์ทีเดียว พระบัญญัติของพระเจ้าประการที่ 8 จึงบัญญัติไว้ว่า “ อย่าใส่ความนินทา” คือห้ามอ้างความเท็จเพื่อให้ร้ายต่อผู้อื่น ซึ่งมีค่ายิ่งกว่าชีวิตอีกด้วย

 ต่อไปนี้เป็นความผิดต่อชื่อเสียงเกียรติยศของผู้อื่น เช่น
การตัดสินโดยเบาความ คือไม่พินิจพิจารณาให้ถี่ถ้วน ไม่สืบสาวราวเรื่องให้ชัดเจน และไม่มีหน้าที่ที่จะตัดสิน
การนินทา  คือเอาความผิดบกพร่องของคนอื่นไปเล่าสู่กันฟัง โดยมีเจตนาไม่ดี หรือเพื่อความสนุกปากสนุกคือ การใส่ความ    คือเอาความผิดหรือความเลวร้ายไปป้ายให้แก่ผู้อื่น ทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้กระทำ โดยมีเจตนาไม่ดี หรือเพื่อแก้แค้น

4.  การกระทำผิดต่อความจริง โดยการโกหกหลอกลวง หรือ กระทำผิดต่อชื่อเสียงเกียรติยศของผู้อื่น โดยการตัดสินเบาความ การนินทา การใส่ความ ทำให้ผู้อื่นเสียหายเพราะเป็นการล่วงละเมิดสิทธิตามความยุติธรรม แม้ความผิดนั้นจะได้รับการให้อภัยแล้ว แต่ผู้กระทำความผิดเช่นนี้ก็ยังมีข้อผูกมัดที่จะต้องชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้เสียหายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าไม่สามารถชดเชยอย่างเปิดเผย ก็ต้องชดเชยอย่างลับ ๆ ถ้าไม่สามารถชดเชยโดยตรง ก็ต้องชดเชยโดยอ้อม

5.  การเป็นองค์พยานให้แก่ความจริง ความถูกต้อง มิใช่เพียงด้วยวาจา แต่ด้วยการยอมพลีชีวิตโดยไม่ยอมก้มหัวให้กับความเท็จ ความหลอกลวงนั้น ถือว่าเป็นยอดวีรกรรม ดังเช่นที่บรรดามรณสักขี ได้ปฏิบัติเป็นแบบอย่างให้เราเห็น พระศาสนจักรซึ่งอยู่ฝ่ายความจริงจึงยกย่องเทิดทูนมรณสักขีเหล่านี้โดยแต่งตั้งให้เป็นนักบุญ เพื่อให้กำลังใจแก่คริสตชนจะได้ปฏิบัติตาม และเพื่อประกาศให้ชาวโลกทั้งหลายได้รู้ และหันมาช่วยกันผดุงความจริง และความถูกต้องให้อยู่คู่โลกตลอดไป

ขั้นที่  4  ปฏิบัติ
ก. ข้อควรจำ
1. อย่าใส่ความนินทา
2. เกิดเป็นคนต้องมีวาจาสัตย์ พูดคำไหนคำนั้น ไม่ตลบตะแลง เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา
3. ใช่ก็จงบอกว่าใช่ ไม่ใช่ก็บอกว่าไม่ใช่ ถ้าผิดไปจากนี้ก็มาจากปิศาจ ( มธ 5, 37)
4. เราเกิดมาในโลกนี้เพื่อเป็นพยานความจริง ใครอยู่ฝ่ายความจริงย่อฟังเสียงของเรา ( ยน 18,37)
5. อย่ากล่าวโทษเขา แล้วพระเจ้าจะไม่ทรงกล่าวโทษท่าน เพราะว่าท่านกล่าวโทษเขาอย่างไร พระเจ้าก็จะทรงกล่าวโทษท่านอย่างนั้น ( มธ 7. 1-2 )
6. มรณสักขีคือผู้ที่ยอมพลีชีวิตเพื่อปกป้องความจริงและความถูกต้อง โดยไม่ยอมก้มหัวให้แก่ความเท็จและความหลอกลวง

ข. กิจกรรม
เล่นเกม “ เวียนกล่องของขวัญ” ( ใช้ลูกบอลแทนก็ได้)
วิธีเล่น ผู้เล่นนั่งเป็นวงกลม ผู้เล่นคนหนึ่งถือของขวัญไว้ เมื่อได้ยินสัญญาณเริ่มก็ให้ส่งกล่องของขวัญไปให้ผู้เล่นทางขวา แล้วส่งต่อกันไปเรื่อย ๆ เมื่อได้ยินสัญญาณหยุดก็ให้หยุด กล่องของขวัญอยู่ที่ใคร ก็ให้คนนั้นออกมาทำตามสั่ง เช่น ร้องเพลง เต้นรำ  ฯลฯ

บทสอน 
1.  เราไม่อยากได้กล่องของขวัญ เพราะมันเป็นการนำภาระมาให้
2. เราปัดภาระนี้ไปให้พ้นตัว โดยรีบส่งกล่องของขวัญนี้ไปให้ผู้อื่น
3. การเอาภาระหรือโทษ ส่งไปให้ผู้อื่นเพื่อให้พ้นตัว เมื่ออยู่ในเกมก็สร้างความสนุกสนาน แต่ถ้าในชีวิตจริง การกระทำดังกล่าวก็เท่ากับสร้างความเดือดร้อน ความอับอายขายหน้าให้กับผู้อื่น

ค. การบ้าน 
ละเว้นการกล่าวคำหยาบคาย คำสบประมาท ด่าแช่ง โกหก หัดกล่าวคำสุภาพ ยกย่อง ชมเชย เตือนเพื่อน ๆ ให้ทำเช่นเดียวกันด้วย

ข่าว-ประชาสัมพันธ์

พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ ปิดการอบรมค่ายคำสอนภาคฤดูร้อน สังฆมณฑลราชบุรี
วันเสาร์ที่ 27 เมษายน 2024 เวลา 09.30 น. พระสังฆราช ซิลวีโอ สิริพงษ์...
ฟื้นฟูจิตใจนักเรียนคาทอลิกชั้น ม.3 สังฆมณฑลราชบุรี
"พระเจ้ารักเธอและฉัน" ฟื้นฟูจิตใจนักเรียนคาทอลิกชั้น ม.3 สังฆมณฑลราชบุรี วันเสารที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 ศูนย์คริสตศาสนธรรมราชบุรี จัดการฟื้นฟูจิตใจนักเรียนคาทอลิกชั้นมัธยมศึกษาปีที่...
“ความสุขแท้ในชีวิตคริสตชน” ชุมนุมคริสตชนใหม่สังฆมณฑลราชบุรี ครั้งที่ 2
“ความสุขแท้ในชีวิตคริสตชน” ชุมนุมคริสตชนใหม่สังฆมณฑลราชบุรี ครั้งที่ 2 วันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 2023 ศูนย์คริสตศาสนธรรม...

Youcat-คำสอนเยาวชน

Youcat 50 มนุษย์มีบทบาทอย่างไรในพระญาณเอื้ออาทรของพระเจ้า ?
มนุษย์มีบทบาทอย่างไรในพระญาณเอื้ออาทรของพระเจ้า ? #YOUCAT 50 บอกเราว่า......
Youcat 444 คำสอนทางสังคมของพระศาสนจักรกล่าวถึง หัวข้อการทำงานและการว่างงานไว้อย่างไร ?
คำสอนทางสังคมของพระศาสนจักรกล่าวถึง หัวข้อการทำงานและการว่างงานไว้อย่างไร ? #YOUCAT 444...
Youcat 47 ทำไมพระเจ้าทรงพักผ่อนในวันที่เจ็ด ?
📍 ทำไมพระเจ้าทรงพักผ่อนในวันที่เจ็ด ?การพักผ่อนจากการทำงานของพระเจ้า ชี้ให้เห็นถึงความเสร็จสมบูรณ์ของสิ่งสร้าง ซึ่งอยู่เหนือความสามารถของมนุษย์...

พระวาจานำชีวิต

สวรรค์ บ้านแท้ของเรา
การเสด็จสู่สวรรค์ของพระเยซูเจ้า เป็นความหวัง เป็นแรงบันดาลใจให้เราดำเนินชีวิตในแต่ละวันอย่างดี รู้ตัว เพื่อมุ่งสู่สวรรค์เช่นกัน...
คำตอบของทุกคำถาม
เมื่อเรามีคำถาม ข้อสงสัยในชีวิต เข้าใจ ไม่เข้าใจ และสิ่งที่เราวอนขอ...
กางเขน เครื่องหมายแห่งความรัก เครื่องหมายแห่งความรอด
สัปดาห์แห่งพระมหาทรมานกำลังเริ่มขึ้นแล้ว ขอพระวาจาพระเจ้าเตือนใจให้เราร่วมแบกกางเขนไปพร้อมกับพระเยซูเจ้าด้วยใจยินดี ผู้ใดไม่รับเอาไม้กางเขนของตนแบกตามเรา ผู้นั้นก็ไม่คู่ควรกับเรา (มธ....

คู่มือแนะแนวการสอนคำสอน ค.ศ.2020

DC177 ความเชื่อที่ถ่ายทอดโดยพระศาสนจักรนั้นมีเพียงหนึ่งเดียว แม้บรรดาคริสตชนจะกระจายอยู่ทั่วโลก แต่ก็รวมเป็นประชากรเดียวกันการสอนคำสอนก็เช่นกัน
ความเชื่อที่ถ่ายทอดโดยพระศาสนจักรนั้นมีเพียงหนึ่งเดียว แม้บรรดาคริสตชนจะกระจายอยู่ทั่วโลก แต่ก็รวมเป็นประชากรเดียวกันการสอนคำสอนก็เช่นกัน แม้ใช้การอธิบายเรื่องความเชื่อด้วยภาษาตามวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอย่างหลากหลาย ต่างก็ยืนยันถึงศีลล้างบาปและความเชื่อเดียวกัน(เทียบ...
DC176 “ความเชื่อมีลักษณะของชุมชนพระศาสนจักรเป็นสำคัญ เป็นการประกาศยืนยันจากภายในพระกายของพระคริสตเจ้าซึ่งเป็นชุมชนแห่งความเชื่อที่เห็นเป็นรูปธรรม”
“ความเชื่อมีลักษณะของชุมชนพระศาสนจักรเป็นสำคัญ เป็นการประกาศยืนยันจากภายในพระกายของพระคริสตเจ้าซึ่งเป็นชุมชนแห่งความเชื่อที่เห็นเป็นรูปธรรม”อันที่จริง “เมื่อการสอนคำสอนถ่ายทอดเกี่ยวกับพระธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้าความเชื่อของประชากรพระเจ้าทั้งหมดจึงก้องอยู่ในสารแห่งการสอนคำสอนตลอดช่วงเวลาของประวัติศาสตร์โดยที่ความเชื่อซึ่งบรรดาอัครสาวกได้รับจากองค์พระคริสตเจ้าเองและอยู่ภายใต้การดำเนินงานของพระจิตเจ้าในการสอนคำสอนก็มีความเชื่อของบรรดาผู้ที่เชื่อและยอมให้พระจิตเจ้าเป็นผู้นำทางของพวกเขา” ยิ่งไปกว่านั้น การสอนคำสอนริเริ่มนำบรรดาผู้ที่เชื่อให้เข้าสู่ธรรมล้ำลึกแห่งการสนิทสัมพันธ์...
DC175 การสอนคำสอนจำเป็นต้องถ่ายทอดความงดงามของพระวรสารอยู่เสมอที่ดังก้องจากพระโอษฐ์ของพระเยซูเจ้าแก่ทุกคน
📖”การประกาศพระคริสตเจ้าหมายถึงการแสดงให้เห็นว่าการเชื่อในพระองค์และการติดตามพระองค์นั้นมิได้เป็นเพียงแค่สิ่งจริงแท้และถูกต้องเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งงดงาม สามารถเติมเต็มชีวิตด้วยความงดงามใหม่และเป็นความชื่นชมยินดีที่ลึกซึ้งแม้ในปัญหาความทุกข์ยาก” 👉การสอนคำสอนจำเป็นต้องถ่ายทอดความงดงามของพระวรสารอยู่เสมอที่ดังก้องจากพระโอษฐ์ของพระเยซูเจ้าแก่ทุกคน คือ...

เนื้อหา Update ล่าสุด

สถิติการเยี่ยมชม

0.png1.png6.png0.png7.png4.png4.png
วันนี้2794
เมื่อวานนี้2986
สัปดาห์นี้17078
เดือนนี้64133
ทั้งหมด160744

ขณะนี้มีผู้เยี่ยมชม

8
Online

วันเสาร์, 18 พฤษภาคม 2567 23:48

เนื้อหาและบทเรียน

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

หนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก(CCC)

สารคำสอน 181 (พ.ย.2022 - มี.ค. 2023)

สารคำสอนสังฆมณฑลราชบุรี ปีที่ 28 ฉบับที่ 181 เดือนพฤศจิกายน 2022 - มีนาคม 2023

เรียนคำสอนกับพ่อวัชศิลป์

สมัครเรียนพระคัมภีร์ไปรษณีย์

สมัครเรียนพระคัมภีร์ไปรษณีย์ "ภาคปัญจบรรพ"

สมัครเรียนพระคัมภีร์ทางไปรษณีย์และทางไลน์ "หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัย นารูธ 1ซามูแอล 2ซามูแอล"

สมัครเรียนพระคัมภีร์ทางไปรษณีย์และทางไลน์ "พระวรสารทั้งสี่และกิจการอัครสาวก"

Download พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับเด็กและเยาวชน

Download พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์