“การจัดค่ายฯ” และ “ความสัมพันธ์” เป็นของคู่กัน เพราะในการใช้ชีวิตร่วมกันในค่ายฯนั้น ย่อมต่อให้เกิดมิตรภาพระหว่างมวลสมาชิก และจุดประสงค์ประการหนึ่งของการเรียนคำสอนหรือการจัดค่ายฯก็คือการสร้างความสัมพันธ์ การสร้างความเป็นหนึ่งเดียวในพระศาสนจักร นั่นหมายความว่าเมื่อมาเข้าค่ายแล้วต้องรักกัน ต้องเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน ต้องเป็นหนึ่งในพระกายทิพย์ของพระคริสต์เจ้า
บรรยากาศแห่งความรัก ความห่วงใย ความไว้วางใจ ความเป็นพี่เป็นน้องกัน ต้องเป็นบรรยากาศของค่ายคำสอน
ในการวิจัยของสหรัฐอเมริกา พบว่า ทั้งวัยหนุ่มสาวและวัยผู้ใหญ่ประมาณ 40 % ต่างแสวงหาความรู้สึกแห่งการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ต้องการมีความสัมพันธ์กับคนอื่น ต้องการให้มีคนรับฟังและไว้วางใจกันได้ ทั้งนี้เพราะพวกเขารู้สึกโดดเดี่ยว ขาดเพื่อน ขาดคนที่ไว้วางใจได้ ทั้งๆที่มีผู้คนอยู่ห้อมล้อมเขาอยู่ก็ตาม ดังนั้นหลายๆคนจึงหันหน้าเข้าวัดเพื่อหาใครสักคนที่ให้ความอบอุ่นกับเขาได้ ซึ่งบางคนที่สมหวังแต่อีกหลายคนก็ผิดหวัง
สิ่งที่น่าสนใจจาการวิจัยนี้ก็คือ การค้นพบว่าเด็กและเยาวชนหลายๆคนไม่ยอมมาวัดหรือร่วมกิจกรรมต่างๆที่ทางวัดจัดขึ้น เพราะรู้สึกเขินอาย ไม่มีใครต้อนรับ ไม่มีเพื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว
ถ้ามีใครมาคุยกับเรา เอาใจใส่เรา ให้เวลาเพื่อรับฟังเรา มีความไว้วางใจได้ เข้าใจในความต้องการและความรู้สึกของเรา มีความเห็นอกเห็นใจต่อกัน เราคงจะรักเขา เทิดทูนเขา และคงมอบความไว้วางใจให้กับเขาอย่างแน่นอน
การสร้าง “ความไว้วางใจ” หรือ “มิตรภาพ” นี่แหละ เป็นสิ่งที่เราจะต้องสร้างขึ้นภายในค่ายคำสอนของเรา ก่อนอื่นเป็นความไว้วางใจในระหว่างหมู่สมาชิกด้วยกัน และระดับที่สูงสุดคือการสร้างความไว้วางในองค์พระเยซูคริสต์
ดังนั้นในการวางโปรแกรมหรือการจัดตารางเวลาหรือกิจกรรมต่างๆในค่ายฯของเรา จะต้องคำนึงถึงความสำคัญของเรื่องนี้ เพราะค่ายคำสอนคือค่ายแห่งการดำเนินชีวิตคริสตชน มิใช่ค่ายแห่งความรู้ในระดับสมองเท่านั้น
Aileen A.Doyle ได้ให้หลักในการจัดตารางเวลา หรือการจัดกิจกรรมในการเข้าเงียบ หรือในการจัดค่ายฯ โดยเปรียบเทียบกับสายน้ำที่ไหลไปตามแม่น้ำที่ไม่มีอุปสรรคอะไรมาขวางกั้น เธอได้สอนไว้ว่า
“ในการสร้างบรรยากาศเพื่อนำเด็กๆไปหาพระเจ้านั้น เรื่องที่สำคัญคือการวางแผนการจัดกิจกรรมเพื่อสมาชิกได้เกิดความไว้วางใจต่อกัน การพัฒนาความไว้วางใจต่อกันนี้เป็นไปแบบธรรมชาติเมื่อคนเรามาอยู่รวมกัน เมื่อพบกันใหม่ๆความไว้วางใจย่อมอยู่ในขอบเขตที่จำกัด แต่เมื่อเวลาผ่านไปได้สักระยะเวลาหนึ่งความไว้วางใจก็จะค่อยๆเพิ่มพูนขี้นและมีความพูกพันต่อกันและกันมากขึ้น การรื่นไหลนี้เป็นเรื่องปรกติและคล้ายๆกับการไหลของสายน้ำ ถ้าลำน้ำมีก้อนหิน หรือกิ่งไม้หรือขยะอยู่เต็มไปหมด สายน้ำย่อมไหลไปไม่สะดวก จนกว่าเราจะกำจัดสิ่งกีดขวางเหล่นนั้นให้พ้นทาง น้ำจึงจะไหลได้อย่างสะดวก
นี่ก็คือความเป็นจริงในการเข้าเงียบ(หรือในค่ายคำสอน)ด้วย งานของผู้นำก็คือ การเลือกกิจกรรมที่ทำให้ความสัมพันธ์และความไว้วางใจนี้รื่นไหลไปในทางที่ดี และขจัดอุปสรรคต่างๆที่มาขัดขวางได้
ในระยะแรกของการเข้าเงียบ(เข้าค่ายฯ) ความไว้วางใจต่อกันมีอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นเราต้องวางแผนจัดกิจกรรมที่ช่วยให้สมาชิกเกิดความสัมพันธ์ต่อกันและกัน เช่น กิจกรรมประเภทการละลายพฤติกรรม การแนะนำตัว การตั้งเป้าหมายในชีวิต ฯลฯ จึงเหมาะที่จะใส่ไว้ในระยะแรกๆ และเมื่อสมาชิกเริ่มมีการพูดคุยแบ่งปันแก่กันและกันแล้ว ความไว้วางใจก็จะค่อยก่อตั้งและพัฒนาขึ้น กิจกรรมประเภทนี้ควรจัดในเวลาที่เหมาะสม”
เมื่อท่านจะกำหนดตารางเวลาเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ให้ท่านยึดหลักการนี้ไว้ ให้พยายามเปลี่ยนโดดเดี่ยวเปลี่ยวเหงาของสมาชิกค่ายฯไปสู่ความไว้วางใจแก่กันและกัน เปลี่ยนความเย็นชาในการสวดภาวนาและร่วมพิธีกรรมไปสู่ความสำนึกและความกระตือรือร้น เปลี่ยนควาเหินห่างจากพระเจ้าไปสู่ความไว้วางใจในองค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา
ตัวอย่างการจัดตารางเวลาและกิจกรรม
1.ค่ายคำสอนภาคค่ำ (เริ่ม 18.30 – 22.00 น.)
18.30 น. ลงทะเบียนและการต้อนรับ
18.45 น. ละลายพฤติกรรมและการสร้างกลุ่ม
19.00 น. อาหารว่าง / เล่นเกม
19.30 น. กิจกรรมกลุ่มและการอภิปราย
20.00 น. การให้คำสอน / การให้เนื้อหา / หรือดูวีดีโอ
20.30 น. กิจกรรมติดตามผลการฟังเนื้อหา / การอภิปรายกลุ่มย่อย
20.50 น. การรำพึงส่วนตัว(เวลาเงียบ)
21.00 น. กิจกรรมศิลปะหรือกิจกรรมการเขียนบันทึก / การทำโปสเตอร์ ฯลฯ
21.30 น. ภาวนาปิด
21.45 น. สังสรรค์
22.00 น. สรุป - กลับบ้าน
2.ค่ายฯ หนึ่งวัน (10 ชั่วโมง : เริ่ม 00 – 19.00 น.)
3.ค่ายฯ หนึ่งวัน (12 ชั่วโมง : เริ่ม 00 – 19.00 น.)
4.ค่ายฯ ค้างคืน (เริ่มตอนเย็น – นอนพักหนึ่งคืน – เลิก 30 น.)
5.ค่ายฯ หนึ่งวันครึ่ง (เริ่ม 00 น.ของวันที่หนึ่ง – พักหนึ่งคืน – เลิก 12.00 น.)
6.ค่ายฯ สองวัน (เริ่ม 00 น.ของวันที่หนึ่ง – พักหนึ่งคืน – เลิก 15.00 น.)
7.ค่ายสุดสัปดาห์ (เริ่มเย็นวันศุกร์30 น. – พักคืนวันศุกร์ – วันเสาร์เต็มวัน – พักคืนวันเสาร์ - วันอาทิตย์เลิก 15.45)
8.ค่ายหนึ่งสัปดาห์ - สามสัปดาห์
- กิจวัตรประจำวัน