ศูนย์คริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลราชบุรี
CATECHETICAL CENTER OF RATCHABURI DIOCCESE

23 เรื่องที่คาทอลิกทุกคนจำเป็นต้องรู้
23 เรื่องที่คาทอลิกทุกคนจำเป็นต้องรู้

          
          “สิ่งที่เป็นแก่นแท้จริงในชีวิตของเราก็คือ พระเยซูคริสต์ทรงรักเรา และเราตอบสนองโดยรักพระองค์เช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบกับความรักของพระเยซูเจ้าแล้ว ทุกสิ่งกลับมีความสำคัญเป็นลำดับที่สอง และหากปราศจากความรักของพระเยซูเจ้า ทุกสิ่งก็ไร้ประโยชน์”- นักบุญยอห์น ปอลที่ 2 พระสันตะปาปา -

           ความจริงที่พิเศษสุดและลุ่มลึกที่สุดก็คือ ความรักของพระเจ้าที่ทรงมีต่อเรานั้นอยู่เหนือทุกสิ่ง เกินกว่าที่เราจะจินตนาการได้ ในฐานะที่เราเป็นคริสตชนคาทอลิก แก่นแท้ที่เรายอมรับและเข้าใจความจริงน่าพิศวงนี้ คือ พระเจ้าทรงรักเราโดยไม่คำนึงถึงอดีตหรือบาปต่าง ๆ ของเราเลย พระเยซูทรงตายเพื่อช่วยรักษาชีวิตของเราทุกคนไว้จากบาปและความตายฝ่ายจิต คือ พระองค์ทรงรักเรามาก แม้กระทั่ง เราจะเป็นเพียงคนเดียวที่ต้องการความรอดพ้น พระองค์ก็ยินดีที่จะมอบชีวิตของพระองค์เองเพื่อเราได้”

                                                     “ไม่มีใครมีความรักยิ่งใหญ่ กว่าการสละชีวิตของตนเพื่อมิตรสหาย” (ยน. 15:13)

              ปราศจากการยอมรับคำเชิญของพระเจ้า เพื่อให้เข้ามามีความสัมพันธ์รักที่ลึกซึ้งกับพระองค์ ก็จะไม่มีสิ่งใดอื่นอีกที่เราจะกระทำแล้วมีความหมาย สิ่งแรกที่สำคัญที่สุด เราได้รับความรัก เราได้รับการเลือกสรร และทรงเรียกให้เข้ามาร่วมชิดสนิทกับพระบิดา พระบุตร และพระจิต ทุกสิ่งที่เราเป็นขึ้นอยู่กับความเต็มใจที่จะน้อมรับ พระหรรษทานจากพระเจ้า เพื่อเข้ามามีสัมพันธ์รักกับพระองค์ และเปลี่ยนแปลง ให้มีความเชื่อที่มากยิ่งขึ้น มีความรอบรู้มากขึ้น ห่วงแหนมากยิ่งขึ้น สนิทสนมมากยิ่งขึ้น และเป็นสมาชิกที่น่ารักของพระศาสนจักร ในพระกายทิพย์ของพระเยซู คริสตเจ้า

1. พระบัญญัติที่ยิ่งใหญ่ – บัญญัติทอง
           พระบัญญัติ 10 ประการมีความสมบูรณ์ในพระบัญญัติที่ยิ่งใหญ่ของพระเยซูเจ้า นั่นคือ “ท่านจะต้องรักองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่านสุดจิตใจ สุดวิญญาณ สุดสติปัญญาและสุดกำลังของท่าน....ท่านจะต้องรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง” (มก. 12:30-31)

2. พระบัญญัติใหม่
           ก่อนที่พระเยซูเจ้าสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน พระองค์ได้ทรงมอบบทบัญญัติใหม่แก่อัครสาวก “ให้ท่านรักกัน เรารักท่านทั้งหลายอย่างไร ท่านก็จงรักกันอย่างนั้นเถิด” (ยน. 13:34)

3. ศีลมหาสนิท – พิธีบูชาขอบพระคุณ
1) แผ่นปังและเหล้าองุ่นในพิธีมิสซา กลับกลายเป็นพระกายและพระโลหิตที่แท้จริงของพระเยซูเจ้า (แม้รูปร่างภายนอกจะเหมือนเดิม) ไม่ได้เป็นเพียงแค่สัญลักษณ์เท่านั้น
2) ศีลมหาสนิทคือพระกาย พระโลหิต พระวิญญาณ และความเป็นพระเจ้าของ พระคริสตเจ้า
3) การรับศีลมหาสนิทเป็นศูนย์กลางแห่งความเชื่อคาทอลิก
4) ศีลมหาสนิทตามความหมาย คือการมีความชิดสนิทกับองค์พระผู้เป็นเจ้า และเป็นหนึ่งเดียวในความเชื่อของพระศาสนจักร
5) เพื่อเข้ารับศีลมหาสนิท บุคคลนั้นจะต้องเป็นคาทอลิกที่ดี ปฏิบัติตามคำสอน และอยู่ในสถานะที่ไม่มีบาปหนัก หรืออยู่ในพระหรรษทาน
6) เฉพาะพระสงฆ์คาทอลิก ในฐานะที่ได้รับการเจิมแต่งตั้งให้เป็นบุคคลใน พระคริสตเจ้า สงฆ์สูงสุดเป็นผู้ทำพิธีเปลี่ยนแผ่นปังและเหล้าองุ่น ให้กลับกลาย เป็นพระกายและพระโลหิตของพระเยซูคริสต์

4. ความจริง 6 ประการ เรื่องที่ทุกคนต้องรู้และเชื่อ
1) มีพระเจ้าแต่เพียงพระองค์เดียว ผู้ทรงสร้าง ธำรงรักษาและปกครองทุกสิ่ง
2) พระเจ้าทรงเป็นผู้พิพากษา ทรงให้รางวัลแก่ผู้ทำดี และลงโทษผู้ที่ทำชั่ว
3) ในองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงมีสามพระบุคคล คือ พระเจ้าพระบิดา พระเจ้าพระบุตร และพระเจ้าพระจิต
4) พระบุคคลที่สอง คือ องค์พระเยซูเจ้าที่เสด็จลงมาบังเกิดเป็นมนุษย์และสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน เอาความตายมาเพื่อชดใช้โทษบาปของเรา
5) จิตวิญญาณของมนุษย์เป็นอมตะ ไม่ดับสูญ
6) พระหรรษทาน (ความช่วยเหลือจากพระเจ้า) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความรอดพ้นจากบาป

5. พระบัญญัติ 10 ประการของพระเจ้า
1. จงนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าพระเจ้าองค์เดียวของท่าน
2. อย่าออกนามพระเจ้าโดยไม่สมเหตุ
3. อย่าลืมฉลองวันพระเจ้าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์
4. จงนับถือบิดามารดา
5. อย่าฆ่าคน
6. อย่าผิดประเวณี
7. อย่าลักขโมย
8. อย่าพูดเท็จใส่ร้ายผู้อื่น
9. อย่าปลงใจผิดประเวณี
10. อย่ามักได้ทรัพย์สินของผู้อื่น



6. ความสุขแท้ 8 ประการ

1) ผู้มีใจยากจน ย่อมเป็นสุข เพราะอาณาจักรสวรรค์เป็นของเขา
2) ผู้เป็นทุกข์โศกเศร้า ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับการปลอบโยน
3) ผู้มีใจอ่อนโยน ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับแผ่นดินเป็นมรดก
4) ผู้หิวกระหายความชอบธรรม ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะอิ่ม
5) ผู้มีใจเมตตา ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับพระเมตตา
6) ผู้มีใจบริสุทธิ์ ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้เห็นพระเจ้า
7) ผู้สร้างสันติ ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้ชื่อว่าเป็นบุตรของพระเจ้า
8) ผู้ถูกเบียดเบียนข่มเหงเพราะความชอบธรรม ย่อมเป็นสุข เพราะอาณาจักรสวรรค์เป็นของเขา

7. พระบัญญัติของพระศาสนจักร 5 ประการ
1. จงร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณและหยุดทำงานในวันอาทิตย์และวันฉลองบังคับ
2. จงรับศีลอภัยบาป อย่างน้อยปีละครั้ง
3. จงรับศีลมหาสนิท อย่างน้อยปีละครั้งในกำหนดปัสกา
4. จงอดอาหารและอดเนื้อในวันที่กำหนด
5. จงบำรุงพระศาสนจักรตามความสามารถ

8. วันฉลองบังคับ
1) วันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันของพระเจ้า ถือเป็นวันศักดิ์สิทธิ์แรก
2) วันสมโภชพระนางมารีย์พระชนนีพระเจ้า (1 มกราคม)
3) วันสมโภชพระคริสตเจ้าแสดงองค์ (6 มกราคม)
4) วันสมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (19 มีนาคม)
5) วันสมโภชปัสกา พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ
6) วันสมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จสู่สวรรค์ (อาทิตย์ที่ 6 เทศกาลปัสกา)
7) วันสมโภชพระจิตเจ้า
8) วันสมโภชพระตรีเอกภาพ
9) วันสมโภชพระวรกายและพระโลหิตพระคริสตเจ้า (อาทิตย์หลังฉลองพระจิต)
10) วันสมโภชนักบุญเปโตรและนักบุญเปาโล (29 มิถุนายน)
11) วันสมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ (15 สิงหาคม)
12) วันสมโภชนักบุญทั้งหลาย (1 พฤศจิกายน)
13) สมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล
14) วันสมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล (8 ธันวาคม)
15) วันสมโภชพระคริสตสมภพ (25 ธันวาคม)

9. การชดเชยใช้โทษบาป (ตามพระคัมภีร์ มธ. 6:1-18)
1) การให้ทาน
2) การอธิษฐานภาวนา
3) การจำศีลอดอาหาร
4) การปฏิบัติกิจเมตตา

10. ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
1) ศีลล้างบาป
2) ศีลกำลัง
3) ศีลมหาสนิท
4) ศีลอภัยบาป
5) ศีลบวช
6) ศีลสมรส
7) ศีลเจิมผู้ป่วย

11. คุณธรรมหลัก 4 ประการ
1) ความรอบคอบ               2) ความยุติธรรม               3) ความกล้าหาญ               4) ความรู้ประมาณ

12. คุณธรรมทางศาสนา 3 ประการ
1) ความเชื่อ            2) ความหวัง              3) ความรัก

13. งานเมตตาฝ่ายจิต 7 ประการ
1) ให้คำแนะนำแก่ผู้สงสัย
2) สอนคนที่ไม่รู้
3) ตักเตือนคนบาป
4) บรรเทาใจผู้ทุกข์ยาก
5) ให้อภัยผู้ทำความผิด
6) อดทนต่อความผิดของผู้อื่นด้วยความเพียร
7) ภาวนาสำหรับผู้เป็นและผู้ตาย

14. งานเมตตาฝ่ายกาย 7 ประการ
1) ให้อาหารแก่ผู้หิวโหย
2) ให้น้ำแก่ผู้กระหาย
3) ให้เสื้อผ้าแก่ผู้ไม่มีนุ่งห่ม
4) ให้ที่พักแก่ผู้ไร้ที่อยู่
5) เยี่ยมผู้ป่วย
6) เยี่ยมผู้ต้องขัง/ผู้ถูกจองจำ
7) ฝังศพผู้ล่วงลับ

15. คำปฏิญาณ 3 ประการของนักบวช
1) ความยากจน               2) ความบริสุทธิ์                 3) ความนบนอบ

 

16. พระคุณ(ของขวัญ)พระจิต 7 ประการ
1) ปรีชาญาณ (Wisdom)
2) สติปัญญา (Understanding)
3) ความคิดอ่าน (Counsel)
4) พละกำลัง (Fortitude)
5) ความรู้ (Knowledge)
6) ความศรัทธา (Piety)
7) ความยำเกรงพระเจ้า (Fear of the Lord)

17. ผลของพระจิต 9 ประการ (Fruit of the Holy Spirit)
ตามจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวกาลาเทีย 5:22-23 มี 9 ประการ คือ
1) ความรัก (Love)
2) ความชื่นชม (Joy)
3) ความสงบ (Peace)
4) ความอดทน (Patience)
5) ความเมตตา (Kindness)
6) ความใจดี (Goodness)
7) ความซื่อสัตย์ (Faithfulness)
8) ความอ่อนโยน (Gentleness)
9) การรู้จักควบคุมตนเอง (Self-control)

18. บาปหนักและบาปเบา
               เราต้องตัดสินบาปตามความหนักเบาของมัน เราเห็นความแตกต่างระหว่างบาปหนักกับบาปเบา ที่เราพบในพระคัมภีร์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นในธรรมประเพณีของพระศาสนจักร ประสบการณ์ของเราก็สนับสนุนเรื่องนี้
บาปหนัก ทำลายความรักในใจมนุษย์ เพราะการฝืนกฎหมายสำคัญของพระเจ้า ทำให้มนุษย์ออกห่างจากพระเจ้าผู้ทรงเป็นเป้าหมายสุดท้ายและความสุขของเขา โดยชอบความดีที่ด้อยกว่าพระองค์
บาปเบา ยอมให้ความรักยังคงอยู่ แม้ว่าทำร้ายและทำให้ความรักบาดเจ็บ
บาปหนักทำร้ายชีวิตซึ่งเป็นบ่อเกิดชีวิตในตัวเรา เรียกร้องให้พระเจ้าทรงเริ่มพระเมตตาขึ้นใหม่ และเรียกร้องให้มีการกลับใจ ซึ่งโดยวิธีปกติแล้วเกิดขึ้นภายในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการคืนดี
บาปจะเป็นบาปหนักได้ จำเป็นต้องมีเงื่อนไขสามประการ คือวัตถุประสงค์นั้นเป็นเรื่องหนัก ยิ่งกว่านั้นบาปนั้นยังต้องทำไปโดยรู้ตัวเต็มใจ และตั้งใจทำ

19. คำสัญญาแห่งศีลล้างบาป
“ลูกจะละทิ้งปีศาจและกิจการความชั่วร้ายของมัน
ลูกจะละทิ้งบาป เพื่อดำเนินชีวิตอย่างอิสระในฐานะบุตรของพระเจ้า
ลูกจะละทิ้งความยั่วยวนของความชั่วร้าย เพื่อมิให้บาปครอบงำลูก”

20. บาปต้น 7 ประการและคุณธรรมที่ตรงกันข้าม
1) จองหอง – ความสุภาพถ่อมตน
2) ตระหนี่ – ความโอบอ้อมอารี
3) ลามก – ความบริสุทธิ์
4) โมโห – ความใจดี อ่อนโยน
5) โลภอาหาร – ควบคุมตนเอง การรู้จักประมาณตน
6) อิจฉา – ความรักฉันพี่น้อง
7) เกียจคร้าน – ขยัน

21. ขั้นตอนสำหรับการเข้ารับการอภัยบาป
ผู้สารภาพบาป:
1) ภาวนาวอนขอพระจิตเจ้าเพื่อช่วยให้พิจารณาบาปได้อย่างถี่ถ้วน
2) พิจารณาบาป
3) สารภาพบาป
4) รับฟังคำแนะนำจากพระสงฆ์ผู้ฟังแก้บาป
5) แสดงความเสียใจและตั้งใจที่จะไม่กระทำบาปอีก ด้วยการสวดบทแสดงความทุกข์ 6) รับการอภัยบาปจากพระสงฆ์
7) กลับไปใช้โทษบาปตามที่พระสงฆ์กำหนดให้

22. บาป 6 ประการที่ต่อต้านพระจิต
1) หมดหวังที่จะเริ่มต้นใหม่เพื่อกลับเข้าหาพระเมตตาของพระเจ้า
2) ท้อแท้หมดกำลังใจ
3) ขัดสู้ต่อต้านที่จะรู้ความจริง
4) อิจฉาความดีฝ่ายจิตของผู้อื่น
5) ความดื้อรั้นในบาป
6) ความโอหังหยาบคาย

23. พฤติกรรม 9 ประการ ที่ถือว่าเป็นการสมรู้ร่วมคิดในการทำบาป
1) โดยให้คำปรึกษา
2) โดยการออกคำสั่ง
3) โดยการยินยอม
4) โดยการยั่วยุ
5) โดยการสรรเสริญ เยินยอ
6) โดยการปกปิด
7) โดยการมีส่วนร่วมในการทำบาปนั้น
8) โดยการปกป้องความชั่ว
9) โดยการเงียบเฉย

เนื้อหาและบทเรียน

Download พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับเด็กและเยาวชน

Download พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์