ศูนย์คริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลราชบุรี
CATECHETICAL CENTER OF RATCHABURI DIOCCESE

บทเทศน์เพื่องานแพร่ธรรม
สัปดาห์ที่สี่ของเดือนตุลาคม
วันที่  23 ตุลาคม 2011 (สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา)
หัวข้อเรื่อง  : พระศาสนจักรและงานธรรมทูต 2
บทอ่าน  : อพยพ 22:20-26; เทสะโลนิกา 1:5-10,มัทธิว 22:34-40

             คำเชื้อเชิญขององค์สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนติกต์ที่ 16 ที่ทรงปรารถนาให้เราคริสตชนทุกคนประกาศข่าวดีของพระเจ้าด้วยใจร้อนรนและเร่งด่วนนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ทั้งหมด แต่มีอะไรบ้างที่เป็นเรื่องใหม่ เรื่องใหม่ก็คือ การคำตอบรับการเชื้อเชิญจากพี่น้องคริสตชนทุกคนต่อการท้าทายที่จะให้ออกไปแบ่งปันความเชื่อให้แก่พี่น้องชายหญิงในโลกปัจจุบัน ประเด็นสำคัญก็คือ การตัดสินใจที่จะแบ่งปันความเชื่อว่า “จะทำหรือไม่ทำ” นั้นเอง

“ความเชื่อคือชีวิต”
          ถ้าหากมีใครคิดว่าตนเองมีความเชื่อเพราะสามารถการท่องจำข้อคำสอนและบทสวดต่างๆได้ นี้เป็นเรื่องที่ไม่ปรกติแล้ว ความเชื่อเป็นเรื่องที่มากยิ่งกว่าแค่การจำได้เท่านั้น ความเชื่อเป็นความสัมพันธ์ส่วนตัวและการยอมมอบกายถวายชีวิตให้แก่พระเยซูเจ้า พระองค์ผู้ทรงยกระดับชีวิตของเราธรรมดาให้มีชีวิตของพระเจ้า พระองค์ทรงกระทำให้ชีวิตของเราศักดิ์สิทธิ์และมีค่าสูงส่ง
บรรดาคริสตชนในสมัยดังเดิมนั้นได้สัมผัสกับพระเยซูเจ้าผู้ทรงได้กลับฟื้นคืนชีพ พวกเขากลับกลายเป็นประจักษ์พยานด้วยการดำเนินชีวิตในวิถีทางใหม่ ซึ่งด้วยสิ่งนี้ที่มีอิทธิพลต่อคนจำนวนมากให้สนใจติดตามพระเยซูเจ้า ทั้งนี้เพราะพวกเขาได้เห็นชีวิตประจำวันของพี่น้องคริสตชนที่ปฏิบัติต่อกันด้วยความรักฉันพี่น้องอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งที่จริงแล้วแบบอย่างชีวิตอย่างนี้เองที่ทำให้บรรดาสตรีพากันนำไปซุบซิบกันในตลาดห้างร้าน การที่ความเชื่อกับชีวิตไม่ขัดแย้งกัน เชื่ออย่างไรก็ปฏิบัติอย่างนั้น ชีวิตประจำวันธรรมดาๆทำให้เป็นที่สนใจของทุกคนที่พบเห็น

“ความเชื่อต้องนำไปสู่การปฏิบัติและการแบ่งปัน”
                  ชีวิตของพระสันตะปาปาบุญราศี ยอห์น ปอลที่ 2 เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เรา มีสื่อสารมวลชนจำนวนมากอธิบายไม่ได้ว่าทำไมข่าวสารของพระองค์เป็นต้นภาพของพระองค์ในอิริยาบถต่างๆนั้นทำให้คนจำนวนมากน้ำตาไหลด้วยความปลาบปลื้ม หลายคนมีความเชื่อที่มั่นคงขึ้น หลายคนเกิดความสุขสงบและสันติในจิตใจ ทั้งนี้ชีวิตของพระองค์แสดงออกให้เห็นถึงความเชื่อศรัทธาด้วยการดำเนินชีวิตที่เป็นประจักษ์พยานถึงพระเยซูคริสตเจ้า ทั้งที่หลายครั้งพวกเขาก็ไม่สามารถเข้าใจในคำพูดของพระองค์ในโอกาสต่างๆด้วยซ้ำไป

                 อีกท่านหนึ่งคือพระคาร์ดินัล ฟรังซิส นกูเจน วาน เทียน ชาวเวียดนาม ที่พระสันตะปาปาเปเบดิกต์ที่ 16 ได้อ้างถึงใน Spa Salvi ว่าเป็นภาพศิลปะ(an icon)แห่งความหวังเหมือนกับชีวิตของคุณแม่เทเรซาแห่งกัลกัตตา พระคาร์ดินัลท่านนี้ได้เป็นประจักษ์พยานชีวิตของพระเยซูเจ้าโดยถูกจับติดคุกนานถึง 14 ปี แม้ว่าท่าจะถูกจองจำแต่ที่นั้นท่านได้ทำให้ผู้คุมคอมมิวนิสต์จำนวนมากได้กลับใจมาเป็นคริสตชน

               ความเชื่อจึงเป็นอะไรที่มากกว่าคาคำพูด เพราะความเชื่อเป็นการแบ่งปันด้วยความเชื่อเอง หรือการนำเอาความเชื่อไปปฏิบัติจริง คำพูดซึ่งสามารถอธิบายถึงความเชื่อได้จะมีความหมายเมื่อได้ออกมาจากการดำเนินชีวิตด้วยความเชื่อนั้น

“ความเชื่อเป็นการแบ่งปันได้ในทุกนาทีของชีวิต”
               เราคงไม่ต้องรอดเวลา เวลานี้ ขณะนี้เองที่เราสามารถแบ่งปันชีวิตแห่งความเชื่อของเราได้อย่างเป็นรูปธรรม
               มีภาพเรื่องชาวสะมาเรียผู้ใจดีในวัดเล็กๆแห่งหนึ่งที่เป็นที่ดึงดูดใจผู้พบเห็นอย่างมากเพราะว่าภาพของเพื่อนบ้านที่ถูกทำร้ายนั้นไม่มีหน้าตา ผู้นำชมวัดอธิบายว่า ผู้วาดต้องการสื่อให้เรารู้ว่า ที่วาดให้คนที่ถูกทำร้ายไม่มีหน้าตานั้นเพราะเราไม่สามารถเลือกที่จะช่วยเหลือใครเพราะหน้าตาได้ พระเจ้าทรงประทานเพื่อนบ้านให้กับเราทุกเวลา เราสามารถแสดงความรักต่อเพื่อนพี่น้องได้ทุกเวลา โดยไม่ต้องเลือกว่าคนนั้นเป็นใคร เราสามารถแบ่งปันความเชื่อกับทุกคนด้วยความรักทุกเวลาและกับทุกคน

               เราอย่ารอโอกาสที่แจะแสดงความรักต่อเพื่อนพี่น้อง และไม่มีประโยชน์อะไรที่เราจะมานั่งเสียใจในอดีตที่เราละเลย หรือฝันถึงอนาคตที่เราจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ จงกระทำเสียแต่เวลานี้ เวลานี้แหละเป็นเวลาที่เหมาะสมแล้ว นี้เป็นเสียงท้าทายจากพระสันตะปาปา เราจะลงมือ “กระทำหรือไม่ทำ” เท่านั้นเอง

              ขอสรุปส่งท้ายด้วยพระดำรัสของพระสันตะปาปาจากสาส์นวันแพร่ธรรมสากลที่ว่า “ขอให้วันแพร่ธรรมสากลปลุกความชื่นชมยินดีและความปรารถนาในแต่ละคนให้ ‘ออกไป’ พบกับมนุษย์ชาติ โดยการนำพระคริสตเจ้าไปให้ทุกคน”

  (โดย Fr.Andrew G.Recepcion ผู้อำนวยการงานแพร่ธรรมของอัครสังฆมณฑล Caceres)

เนื้อหาและบทเรียน

Download พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับเด็กและเยาวชน

Download พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์