ศูนย์คริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลราชบุรี
CATECHETICAL CENTER OF RATCHABURI DIOCCESE

บทที่  21 พระหรรษทาน

จุดมุ่งหมาย      เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงคุณค่าของพระหรรษทาน เกิดความซาบซึ้งอยากจะได้รับ และหวงแหนจนสุดชีวิต

ขั้นที่ 1  กิจกรรม
ครูนำภาพหลายๆภาพมาให้ผู้เรียนดู ถ้าเป็นภาพเด็กนานาชาติก็ยิ่งดี ถามว่า
- เด็กแต่ละคนมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร ?
- มีความน่ารักน่าเอ็นดูที่ตรงไหน ?
- ชอบเด็กคนไหนมากที่สุด

ขั้นที่ 2  วิเคราะห์

ครูถามผู้เรียนต่อว่า
- มีอะไรที่เด็กทำเองได้โดยไม่ต้องมีผู้ใหญ่ช่วย
- มีอะไรที่เด็กทำไม่ได้ ต้องมีผู้ใหญ่ช่วย ?
- ทำไมเด็กจึงต้องมีผู้ใหญ่ช่วย

สรุป     เด็กยังเล็ก มีขีดความสามารถจำกัด ถ้าจะทำอะไรเกิดความสามารถต้องมีผู้ใหญ่ช่วย

ขั้นที่ 3  คำสอน

      1. ต่อหน้าพระเป็นเจ้าเรามนุษย์ก็เปรียบเหมือนเป็นเด็ก เพราะเรามีความสามารถอยู่ในขีดจำกัดเหมือนกัน ทำอะไรได้เฉพาะในแวดวงธรรมชาติเท่านั้น ถ้าจะทำอะไรเหนือธรรมชาติต้องอาศัยพระเป็นเจ้าช่วย เพราะพระเป็นเจ้าอยู่เหนือธรรมชาติ ทรงฤทธิ์ทุกประการ

      2. พระเป็นเจ้าสร้างมนุษย์ตาม “พระฉายา” ของพระองค์ (เทียบ ปฐม. 1,26) หมายความว่าพระองค์ททรงยกมนุษย์ขึ้นระดับเหนือธรรมชาติแล้วตั้งแต่แรกสร้าง สภาพดังกล่าวอยู่เหนือขีดความสามรถของมนุษย์ที่จะไขว่คว้าหามาได้ด้วยตนเอง จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยพระเป็นเจ้าเป็นผู้ช่วย เหมือนกับเด็กต้องพึ่งพาอาศัยผู้ใหญ่นั่นแหละ ความช่วยเหลือนี้มาจากพระเป็นเจ้า บางทีก็เรียกว่า “ของประทาน” หรือ “พระหรรษทาน”

      3. ของปะทาน หรือ พระหรรษทาน เป็นความช่วยเหลือที่พระเป็นเจ้ามอบให้มนุษย์เพราะความรักของของพระองค์ล้วนๆ มนุษย์ไม่มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องประการใด ชื่อ “หรรษทาน” หรือ “ของประทาน” เองก็บอกชัดเจนว่าเป็น “ทาน” คือสิ่งที่ผู้ให้ให้ด้วยใจอิสระ ด้วยใจสมัคร ไม่มีใครมาบีบบังคับได้ ของประทาน หรือ พระหรรษทานนี้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

ก. พระหรรษทานศักดิ์สิทธิกร ได้แก่ของประทาน หรือ ความช่วยเหลือพิเศษของพระเป็นเจ้าที่ทำให้มนุษย์ยกระดับขึ้นสู่สภาพเหนือธรรมชาติ กลายเป็นบุตรของพระเจ้า มีส่วนในชีวิตและสันติสุขกับพระองค์ พระหรรษทานศักดิ์สิทธิกรนี้เราได้รับเมื่อรับศีลล้างบาป สามารถเจริญเติบโตขึ้นได้เมื่อรับศีลศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ เมื่อสวดภาวนาหรือกระทำกิจการดีงามใดๆ อาจจะสูญสลายไปได้เมื่อกระทำบาปหนัก แต่ก็กลับคืนมาได้ด้วยการรับศีลแก้บาป

ข. พระหรรษทานปัจจุบัน ได้แก่ของประทานหรือความช่วยเหลือพิเศษที่พระเป็นเจ้ามอบให้เป็นครั้งคราวตามความจำเป็น เพื่อช่วยเมนุษย์ให้สามารถต่อสู้กับกิเลส ตัญหา และความชั่วช้าต่างๆของโลก สามารถกระทำความดีอันมีผลให้บรรลุความสุขนิรันดรกับพระองค์

       4. นอกจากของประทานที่เรียกว่า “พระหรรษทาน” แล้วพระเป็นเจ้ายังมอบความช่วยเหลือให้แก่มนุษย์ในรูปแบบของ “พระคุณ” ตามที่นักบุญเปาโลได้พรรณนาไว้ว่า “ของประทานมีอยู่ต่างๆกัน แต่มีพระจิตองค์เดียว.......โดยทางพระจิตนั้นพระเป็นเจ้าโปรดให้คนหนึ่งมีถ้อยคำที่ประกอบด้วยสติปัญญา อีกคนหนึ่งมีถ้อยคำที่ประกอบด้วยความรู้.......อีกคนหนึ่งมีความเชื่อ.......อีกคนหนึ่งมีความสามารถรักษาคนป่วยได้.......อีกคนหนึ่งสำแดงอิทธิฤทธิ์ต่างๆ....อีกคนหนึ่งเผยพระวจนะ อีกคนหนึ่งรู้จักสังเกตวิญญาณต่างๆ อีกคนหนึ่งพูดภาษาแปลกๆ อีกคนหนึ่งแปลภาษาแปลกๆ นั้นได้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้พระจิตองค์เดียวกันทรงบันดาลและประทานแก่แต่ละคนตามที่ทรงพอพระทัย” (1 คร. 12,11)
สังคายนาวาติกันที่ 2 ได้กล่าวยืนยันเพิ่มเติมว่า “พระจิตมิเพียงบันดาลวามศักดิ์ นำประชากรของพระเจ้า และกระทำให้ปะชากรนั้นมั่งคั่งด้วยคุณธรรม โดยอาศัยศีลศักดิ์และศาสนบรการของพระศาสนจักเท่านั้น พระองค์ยัง “ประทานพระคุณแก่แต่ละคนตามที่พระองค์พอพระทัย” (1 คร. 12,11) นั่นคือพระองค์ทรงแจกจ่ายพระคุณพิเศษแก่ศัตบุรุษทุกวรรณะ โดยอาศัยพระคุณเหล่านี้พระองค์ทรงทำให้เขาเหมาะสมและพร้อมที่จะประกอบภารกิจหรือหน้าที่อันจะก่อประโยชน์ในการฟื้นฟูและเสริมสร้างพระศาสนจักรตามคำของนักบุญเปาโลที่ว่า “พระจิตทรงสำแดงพระองค์ (ประทานคุณ) แก่ทุกคนเพื่อประโยชน์ร่วมกัน” (1 คร. 12,7) พระคุณเหล่านี้ ไม่ว่าจะปรากฏแจ้งและโงดังหนักหนาสักปานใด หรือจะเป็นเพียงพระคุณธรรมดาๆ ที่ใครๆหลายคนมีก็ตาม จำเป็นจะต้องน้อมรับด้วยความขอบพระคุณและด้วยความพึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมและเป็นประโยชชน์ตามความต้องการของพระศาสนจักร” (พระธรรมนูญเรื่องพระศาสนจักร ข้อที่ 12) พระคุณเหล่านี้พระเป็นเจ้าประทานให้แต่ละคนตามฐานะหน้าที่รับผิดชอบแตกต่างกันไป

       5. แม้ว่า “พระหรรษทาน” และ “พระคุณ เป็นของประทานมาจากพระเป็นเจ้าเพราะควารักของพระองค์ล้วนๆ แต่พระเป็นเจ้าก์มิประทานให้โดยปราศจากความร่วมมือของเรามนุษย์ นั่นก็คือเรามนุษย์ต้องพยายามกระทำในสิ่งที่อยู่ในวิสัยที่จะทำได้ เช่น ปฏิบัติซื่อสัตย์สุจริต ประพฤติตนตามทำนองคลองธรรม ฯลฯ หรือขจัดอุปสรรคที่ขัดขวางมิให้พระหรรษทานและพระคุณหลั่งไหลมาสู่เราได้ อันได้แก่กิเลส ตัญหา บาป และความผูกพันในบาป ดังนี้เราจะมีส่วนในพระหรรษทานและพระคุณนั้นอย่างจริงจัง และสามารถกล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า พระหรรษทานและพระคุณนั้นเป็นของเราด้วย

 

ขั้นที่ 4  ปฏิบัติ

  • ข้อควรจำ
    1. พระเป็นเจ้าประทานพระหรรษทานให้เพราะความรักล้วนๆ ไม่มีมนุษยคนใดมีสิทธิที่จะเรียกร้องแต่ประการใด
    2. “ปราศจากเราท่านทำอะไรไม่ได้เลย” (ยน. 15,5) ปราศจากพระหรรษทานของพระเป็ฯเจ้าเราจะเอาตัวรอดไม่ได้เลย
    3. “พระหรรษทานของเรามีเพียงพอสำหรับท่าน” (2 คร. 12,9)
    4. เพื่อรับพระหรรษทานเราต้องร่วมมือกับพระเป็นเจ้าโดยกระทำสิ่งที่ดี ขจัดสิ่งที่ดี ขจัดสิ่งที่ไม่ดีที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง
  • กิจกรรม ร้องเพลง “พระสัญญา”
    1. ทุกวันใหม่มีพระสัญญา     ทุกเวลามีความหวัง
    ทุกยามเช้ามีแสงสว่าง   ตลอดการเดินทางมีความช่วยเหลือเกื้อกูล
    2. มีพระพรสำหรับปัญหาทุกอย่าง   มีพละกำลังต่างๆไม่สิ้นสูญ
    มีพระหรรษทานในยามอาดูร     มีพระคุณจำรูญในยามทดลอง
    3. แม้ในท่ามกลางความลำบากสับสน    หนทางมืดมนที่ดับอับแสง
    มีความเมตตาที่พระสำแดง    ความรักร้อนแรงพระองค์ประทาน
    4. มีความรักมากมายเหลือล้น     ดังสายชลกว้างใหญ่ไพศาล
    เมื่อเราวางใจในพระภูบาล    มอบวิญญาณในหัตถ์พระองค์

     การบ้าน วาดหัวใจที่อยู่ในฐานะพระหรรษทาน มีพระบิดา พระบุตร พระจิตประทับอยู่ เขียนใต้ภาพว่า “หัวใจของฉัน”

เนื้อหาและบทเรียน

Download พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับเด็กและเยาวชน

Download พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์