ศูนย์คริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลราชบุรี
CATECHETICAL CENTER OF RATCHABURI DIOCCESE

บทข้าแต่พระบิดาเรื่องสั้น 17.บทข้าแต่พระบิดา
• ใครเป็นผู้แต่งบทข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย
“พระเยซูคริสตเจ้าเองทรงเป็นผู้แต่งและทรงสอนเราให้ภาวนา” มัทธิว 5:5-13
       
สาวกทั้งสิบสองคนต่างเป็นชาวยิวที่ดี พวกเขาสวดภาวนาตามธรรมเนียมของบรรพบุรุษทั้งที่บ้านและที่ซีนาก็อก(synagogue)  แต่เมื่อมาอยู่กับพระเยซูคริสต์พวกเขารู้สึกว่าพวกเขาได้อยู่ใกล้พระเจ้ามากอย่างที่ไม่เคนรู้สึกมาก่อนเลยในชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขาได้เห็นพระเยซูเสด็จเขาไปในเนินเขาเพื่อภาวนาตามลำพังเวลาค่ำคืนเป็นประจำ พวกเขาได้เห็นพระพักตร์อันแจ่มใสของพระองค์ในยามเช้าที่เสด็จกลับมาจากการภาวนา เมื่อมีโอกาส คนหนึ่งในพวกเขาจึงได้ถามพระเยซูว่า “พระอาจารย์ โปรดสอนพวกเราให้ภาวนาอย่างที่ท่านยอห์นสอนศิษย์ของเขาให้ภาวนา” พวกเขาต้องการให้พระเยซูสอนพวกเขาให้ภาวนาอย่างที่พระเยซูทรงภาวนา แน่นอนพระองค์คงต้องดีใจมากเพราะพระองค์ก็ปรารถนาที่จะสอนพวกเขาอยู่แล้ว

“ท่านทั้งหลายจงภาวนาตามอย่างนี้ว่า…..ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย……..ฯลฯ” พวกเขาต่างจดจำถ้อยคำเหล่านี้อย่างดีและพากันสวดภาวนาบทนี้อยู่เสมอ และภาวนาตลอดมา

           บทภาวนานี้เป็นบทภาวนาที่ดีที่สุด แต่ว่าแม้จะดีสักเท่าไร ถ้าผู้สวดสวดแบบแผ่นเสียง หรืออย่างนกแก้ว ก็ไม่มีประโยชน์อะไร

         พระเยซูตรัสว่า “จงอธิฐานตามอย่างนี้..” หมายความว่า ไม่ใช่สวดตามคำที่ให้ไว้นี้อย่างเดียว แต่ต้องกระทำตามทุกสิ่งที่อยู่ในคำภาวนานี้ด้วย

         นี่คือการเข้าหาพระเจ้า คือเข้าหาด้วยความคิดและด้วยใจปรารถนาที่จะอยู่กับพระองค์ คิดถึงพระองค์ในฐานะที่ทรงเป็นบิดา ประการแรกจงคิดพระสิริรุ่งโรจน์และน้ำพระทัยของพระองค์ จากนั้นจึงทูลวอนขอสิ่งต่างที่ต้องการด้วยความไว้วางใจต่อพระองค์

         บทภาวนานี้มีความหมายในทุกประโยค ดังนั้นเราควรศึกษาแต่ละประโยคอย่างดี

เนื้อหาและบทเรียน

Download พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับเด็กและเยาวชน

Download พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์