ศูนย์คริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลราชบุรี
CATECHETICAL CENTER OF RATCHABURI DIOCCESE

การให้อภัยการให้อภัย

ความหมาย ยกโทษให้  ไม่ถือโทษ  การไม่ถือเอาความผิดของคนอื่นในสิ่งที่เขาได้กระทำผิดต่อเรามาประนามซ้ำเติม  หรือทำให้เขาต้องเสียใจ
คำคม   “จงให้อภัยในความบกพร่องของเพื่อนด้วยความเต็มใจเหมือนกับที่เราให้อภัยในความบกพร่องของตัวเราเอง”
   “จงเป็นคนแรกที่ให้อภัย”
   “อย่ากลัวที่จะพูดว่า …ไม่เป็นไร…”
   “ให้อภัยตนเองและผู้อื่นเสียบ้าง”
   “อย่าดูถูกอำนาจของการให้อภัย”
ประโยชน์ของการให้อภัย
    1.ทำให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
    2.ทำให้เกิดความรัก และความจริงใจอย่างแท้จริง
    3.เป็นการให้โอกาสคนอื่นและตัวเราเองในการแก้ไขข้อบกพร่อง เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น

โทษของการถือโทษ  
    1.เกิดการผูกใจเจ็บ  คิดแก้แค้น
    2.ชีวิตไม่มีความสุข
    3.มองโลกและคนอื่นในแง่ร้าย
    4.ปิดกั้นโอกาสของผู้อื่นและตัวเองในการแก้ไขข้อบกพร่อง

เนื้อหาในพระคัมภีร์ 
“เจ้าอย่าแก้แค้นหรือผูกพยาบาทลูกหลาน ญาติพี่น้องของเจ้า แต่เจ้าจงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง”    ( ลนต 19 : 18 )

“จงเมตตาต่อกัน  มีใจเอ็นดูต่อกัน และอภัยโทษให้แก่กัน  เหมือนดังที่พระเจ้าได้ทรงโปรดอภัยโทษให้แก่ท่านในพระคริสต์นั้น”  ( อฟ 4 : 32 )

“บุคคลผู้ใดมีใจกรุณา ผู้นั้นเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับพระกรุณาตอบ” ( มธ 5 : 7  )

บทความ  จงให้อภัยกัน
        คนเราที่อยู่ร่วมกันมาก ๆ ย่อมมีการขัดใจ โกรธกันบ้างเป็นธรรมดา เพราะอัธยาศัยใจคอไม่เหมือนกัน แม้ตัวเราเองบางครั้งยังไม่พอใจในการกระทำของตนเองบ่อย ๆ จะป่วยกล่าวไปใยถึงคนอื่น ยิ่งติดต่อกับคนมากเท่าไร  ความขัดใจกันก็จะเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น   การรู้จักให้อภัยในความผิดพลาดของกันและกันจึงเป็นสิ่งจำเป็นในสังคมของคนผู้มีอารยธรรม
        ดังนั้น เมื่อเราทำอะไรผิดพลาด ล่วงเกินผู้อื่น ควรขอโทษหรือขออภัยเขาทันที ส่วนผู้ที่ถูกคนอื่นล่วงเกินก็ควรให้อภัย ไม่ถือโทษ
       จงหัดเป็นคนใจคอหนักแน่น ไม่โกรธง่าย รู้จักให้อภัยและรู้จักขอโทษ แล้วการทะเลาะวิวาทในสังคมจะลดน้อยลง การแตกร้าวในสังคมก็จะลดลงหรือหมดไป มีแต่ความสามัคคีของหมู่ให้เกิดแต่ความสุข

พฤติกรรมที่ปรารถนาให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติ  
+ เมื่อทำอะไรผิดพลาด ล่วงเกินผู้อื่น ควรขอโทษหรือขออภัยเขาทันที่  ส่วนผู้ที่ถูกคนอื่นล่วงเกินก็ควรให้อภัย  ไม่ถือโทษ
+ จงหัดเป็นคนใจคอหนักแน่น  ไม่โกรธง่าย รู้จักให้อภัยและรู้จักขอโทษ
+ ถ้ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่จะยกโทษ จงยกโทษนั้นโดยเร็ว 
+ การยกโทษช้า ๆ นั้น ก็ยังดีกว่าการไม่ยอมยกโทษเสียเลย
+ จงยกโทษ และลืมมันเสีย เพราะเราไม่สามารถยกโทษถ้าเรายังคงระลึกถึงความผิดบกพร่องของคนอื่นอยู่

 

เนื้อหาและบทเรียน

Download พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับเด็กและเยาวชน

Download พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์